อนุพันธ์ของกรดอีลาจิก (Ellagic acid derivative) ชนิดใหม่ จากใบและกิ่งของกระบก Irvingia malayana

อนุพันธ์ของกรดอีลาจิก (Ellagic acid derivative) ชนิดใหม่ จากใบและกิ่งของกระบก Irvingia malayana ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีทรัพยากรทั้งบนบก ในแม่น้ำ และในทะเล ภูมิประเทศอุดมไปด้วยพรรณไม้และสิ่งมีชีวิตนานาชนิด รวมไปถึงจุลชีพ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีศักยภาพที่จะนำมาค้นหาองค์ประกอบทางเคมี ที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้แก่ อาหารเสริม เครื่องสำอาง วัสดุทางการแพทย์ และ ที่สำคัญที่สุดคือ ยารักษาโรค ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากในเชิงเศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านสาธรารณสุขของประเทศ ดังนั้น การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ จากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย ล้วนมีความสำคัญ เพื่อค้นหาทรัพยากรชนิดใหม่ๆ ที่อาจยังไม่มีการค้นพบมาก่อน ซึ่งอาจจะทำให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบทางเคมีชนิดใหม่ๆ ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีขึ้น หรือ ทดแทนยาที่เริ่มมีปัญหาเรื่องการดื้อยาของโรคต่างๆ   ฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีความสำคัญทั้งในระดับประเทศรวมไปถึงประชาคมโลก ได้แก่ ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย ต้านไวรัส (HIV, Flu เป็นต้น) ต้านวัณโรค ต้านมาลาเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ โรคของผู้สูงอายุ ได้แก่ อัลไซเมอร์ ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน เป็นต้น … Continue reading อนุพันธ์ของกรดอีลาจิก (Ellagic acid derivative) ชนิดใหม่ จากใบและกิ่งของกระบก Irvingia malayana